บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(00012006) กลุ่มเรียนที่ 20 วันศุกร์เวลา 13.30 - 15.30 น. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การป้องกันโรคโคนม

         โรคเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงโคนมไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งถ้า เกิดขึ้นกับฟาร์มใด อาจทำให้ถึงกับต้องเลิกล้มกิจการได้ การป้องกันโรคโคนมควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
  • เลี้ยงแต่โคที่แข็งแรงสมบูรณ์และปลอดจากโรค ไม่ควรเลี้ยงโคที่อ่อนแอโคที่เป็นเรื้อรังรักษาไม่หายขาด โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคไส้เลื่อน, โรคติดต่อร้ายแรง เช่นโรคแท้งติดต่อหรือวัณโรค เป็นต้น
  • ให้อาหารที่มีคุณภาพดีและมีจำนวนเพียงพอ ถ้าให้อาหารไม่ถูกต้องเพียงพอ หรือให้อาหารเสื่อมคุณภาพ หรือมีสิ่งปลอมปนอาจทำให้โคเป็นโรคไข้น้ำนม, โรคขาดอาหาร รวมทั้งทำให้อ่อนแอเกิดโรคอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเกษตรกรควรซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และระวังอาหารที่เป็นพิษ เช่นมีเชื้อรา พืชที่พ่นยาฆ่า แมลง เป็นต้น
  • จัดการเลี้ยงดูและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงให้เหมาะสม สำหรับข้อนี้เป็นวิธีการลงมือปฏิบัติที่ค่อนข้าง สับสน เพื่อให้เข้าใจง่าย สะดวกแก่การปฏิบัติ จึงขอแยกแยะออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
  1. คอกคลอดควรได้รับการทำความสะอาด และใช้ยาฆ่าเชื้อพ่นหรือราดทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ก่อนนำแม่โค เข้าคลอด
  2. ลูกโคที่เกิดใหม่ต้องล้วงเอาเยือกเมือกที่อยู่ในจมูกปากออกให้หมดเช็ดตัวลูกโคให้แห้ง
  3. สายสะดือลูกโคที่เกิดใหม่ต้องใส่ทิงเจอร์ไอโอดีนให้โชกและใส่ยากันแมลงวันวางไข่ทุกวันจนกว่าสาย สะดือจะแห้ง
  4. ให้ลูกโคกินนมน้ำเหลืองโดยเร็วถ้าเป็นไปได้ควรให้กินภายใน 15 นาทีหลังคลอด
  5. ทำความสะอาดคอกลูกโค เช่นเดียวกันคอกคลอดก่อนนำลูกโคเข้าไปเลี้ยง
  6. ควรเลี้ยงลูกโคในคอกเดี่ยวเฉพาะตัว
  7. เครื่องมือเครื่องใช้เช่น ถังนมที่ใช้เลี้ยงลูกโคไม่ควรปะปนกัน
  8. ให้ลูกโคกินนมไม่เกิน 10% ของน้ำหนักตัว แบ่งออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน
  9. หัดให้ลูกโคกินอาหารและหญ้าโดยเร็ว (เมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 1 อาทิตย์) อาหารที่เหลือต้องกวาดทิ้ง ทุกวัน น้ำสะอาดควรมีให้กินตลอดเวลา
  10. ลูกโคต้องตัวแห้งเสมอ วัสดุที่ใช้รองนอนต้องเปลี่ยนทุกวัน
  11. แยกลูกโคที่อายุต่างกันให้อยู่ห่างกัน
  12. ถ่ายพยาธิเมื่อลูกโคอายุ 3 เดือน และถ่ายซ้ำอีกปีละ 1-2 ครั้งหรือตามความเหมาะสม
  13. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อสะเตรน 19 ให้แก่ลูกโคเพศเมีย เมื่อลูกโคอายุ 3-8 เดือน
  14. เมื่อลูกโคหย่านมต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงดังนี้
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าต้องฉีดให้ครบ 3 ชนิด (เอ, เอเชียวันและโอ) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
  • ฉีดวัคซีนโรคเฮโมรายิกเซพติซิเมีย (โรคคอบวม) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
  • ฉีดวัดซีนโรคแอนแทรกซ์ (โรคกาลี) และฉีดซ้ำทุกปี
15. พ่นหรืออาบยาฆ่าเห็บทุก 15 วัน หรือตามความเหมาะสม เช่น อาจจะอาบหรือพ่นทุก 1 เดือนหรือ นานกว่านี้ก็ได้
16. แม่โคที่แสดงอาหารแบ่งนานเกิน 3 ชั่วโมงแล้วไม่สามารถคลอดลูกได้ หรือแม่โคที่คลอดลูกแล้วมีรก ค้างเกิน 12 ชม. ควรตามสัตวแพทย์
17. จัดการป้องกันโรคเต้านมอักเสบโดยเคร่งครัดดังนี้
บริเวณคอกต้องแห้ง ไม่มีที่ชื้นแฉอะแฉะ เป็นโคลนตมไม่มีวัตถุแหลมคม เช่นรั้ว ลวดหนาม ตาปู
  • รีดนมตามลำดับโดยรีดโคสาวก่อน แล้วรีดโคที่มีอายุมากขึ้น ส่วนโคที่เป็นโรคให้รีดหลังสุด
  • ก่อนรีดต้องเช็ดเต้านมด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำคลอรีน ผ้าที่ใช้เช็ดเต้านมควรใช้เฉพาะตัวไม่ปะปนกัน

โรงรีดนม

              เป็นโรงเรือนหรือส่วนหนึ่งของคอกที่จัดทำขึ้นสำหรับรีดนมโดยเฉพาะ แม่โคจะถูกต้อนให้เข้าเพื่อรีดนม เมื่อเสร็จแล้วตัวใหม่ก็จะถูกต้อนเข้ามาแทน การรีดนมมักจะใช้เครื่องรีด บริเวณที่โคยืนจะสูงกว่าคนรีด ทำให้ผู้รีดนมสามารถยืนทำงานอย่างสะดวก

ลักษณะของที่รีดนมที่นิยมมี 4 แบบ คือ
1.แบบก้างปลา (Herringbone parlor)


2.แบบเปิดข้าง (Side-opening parlor)


3.แบบม้าหมุน (Carousel หรือ Rotary parlor)



4.แบบหลายเหลี่ยม (Polygon หรือ Diamond parlor)

การรีดนม

โรงเรือนโคนม

การเลี้ยงโคนมมีระบบการเลี้ยงใหญ่ๆ 2 แบบ คือ

1. การเลี้ยงแบบผูกยืนโรง (Stall barns)
แม่โคแต่ละตัวถูกผูกให้ยืนอยู่ในซองภายในโรงเรือนอาจจะมีการปล่อยให้โคออกกำลังบ้างเป็นครั้งคราว แม่โคจะกินอาหารและถูกรีดนมในซอง


2. การเลี้ยงโคแบบปล่อยอิสระในคอก (Free stall barn)
การเลี้ยงแบบนี้เป็นวิธีการเลี้ยงจำกัดบริเวณให้โคอยู่ภายในคอกขังซึ่งแบ่งส่วนของคอกออกเป็นที่สำหรับโคนอน บริเวณกินอาหาร ลานเดินออกกำลัง ที่พักรีดนม และสถานที่สำหรับรีดนม แม่โคสามารถเดินไปมาอย่างอิสระในคอกได้

อาหารโคนม



                โคนมเป็นสัตว์สี่กระเพาะหรือที่เรียกว่า สัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะมี 2 ชนิดคือ อาหารหยาบ เช่น หญ้า ถั่ว อาหารสัตว์ ฟางข้าว และอาหารข้น เช่น อาหารผสม ในการให้อาหารแก่ โคนม อาหารทั้ง 2 ชนิด จะมีความสำคัญเท่า ๆ กัน และต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะทำให้โคนม สามารถให้น้ำนมได้สูงสุดตามความสามารถของโคแต่ละตัวที่จะแสดงออก โคนมในปัจจุบันได้รับการ ปรับปรุงพันธุ์จนมีความสามารถในการให้น้ำนมได้สูงกว่าแต่ก่อน ลำพังการให้อาหารหยาบเพียงอย่าง เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารหยาบในเขตร้อนอย่างประเทศไทย ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารต่ำ มีโภชนะ ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของแม่โคนม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการให้อาหารข้นเสริมจะเห็นได้ว่าอาหาร ข้นจะเข้าไปมีบทบาทต่อการผลิตน้ำนมมากขึ้น นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีกอย่างก็คือ จะเป็นตัวกำหนด ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเลี้ยงโคนม ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในด้านอาหารจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดคือ ประมาณร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของประเทศกำลังประสบอยู่ นั่นคือต้นทุน การผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น ฉะนั้นการให้อาหารแก่โคนมอย่างเหมาะสมนอกจากจะสามารถช่วยแม่โคนม สามารถให้น้ำนมได้สูงขึ้นแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการให้อาหารข้น แก่โคนมก็มีข้อที่จะต้องพิจารณาอยู่มาก ซึ่งจากการสำรวจพบว่าเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ยังขาด ความรู้เข้าใจในการใช้อาหารข้น ทั้งเรื่องเกี่ยวกับว่า อาหารข้นควรจะมีคุณภาพอย่างไรประกอบด้วย อะไรบ้าง และจะให้โคนมกินประมาณเท่าไร ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจัดทำ เอกสารฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้ทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ ในการให้อาหารแก่โคนม ก่อนที่จะกล่าวถึงในเรื่องของการให้อาหาร เกษตรกรควรที่จะทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่จะไปมีส่วน เกี่ยวข้องโดยตรง

ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงแม่โคนม เป็นค่าอาหารประมาณร้อยละ 70 โดยเฉลี่ย แม่โคนมนอกจากต้องการอาหารอย่างพอเพียง ยังต้องการความสมดุลของโภชนะด้วย แม่โคต้องการโภชนะเพื่อใช้ในการทำงานของร่างกายดังนี้

  • เพื่อการเจริญเติบโต กรณีโคยังเติบโตไม่ได้โตเต็มที่
  • เพื่อการอุ้มท้อง ความต้องการโภชนะสำหรับการอุ้มท้องช่วง 6 เดือนแรกนั้นไม่มาก แต่ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด ต้องการโภชนะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • เพื่อการสะสมไขมัน หรือเติบโตทดแทนน้ำหนักที่สูญหายไป ระหว่างการให้นมหรือช่วงพักรีดนม
  • เพื่อการดำรงชีพ ความต้องการโภชนะเพื่อดำรงชีพมากหรือน้อยขึ้นกับขนาดของร่างกาย
  • เพื่อการให้นม ความต้องการเพื่อการให้นมผันแปรตามปริมาณน้ำนมและส่วนประกอบของน้ำนม

ความต้องการสารอาหารของแม่โคนม
แม่โคนมแต่ละตัวมีความต้องการสารอาหารได้แก่ โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ฯลฯ โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อที่จะ (1) บำรุงร่างกาย (2) เจริญเติบโต (3) ผลิตน้ำนม (4) เพื่อการเจริญเติบโตของลูกใน ท้องแม่โคจะนำสารอาหารที่ให้กินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามลำดับทำให้แม่โคละตัวซึ่งมีน้ำหนักตัว ต่างกันและให้นมจำนวนไม่เท่ากัน มีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไปนอกจากนั้นในแม่โคตัวเดียวกัน ก็ยังมีความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงแตกต่างกันไปอีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ
ช่วงระยะการให้น้ำนม แม่โคนมที่อยู่ในระยะใกล้คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ๆ แม่โคนมที่อยู่ระหว่าง การให้น้ำนมสูงสุด (2 เดือนแรกของการให้นม) การให้นมช่วงกลาง การให้นมในช่วงปลาย และช่วงหยุด การให้นม จะมีความต้องการสารอาหารในแต่ละระยะการให้นมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะปริมาณน้ำนมที่ แม่โคผลิตได้ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกัน
สภาพของร่างกาย โคนมที่สามารถให้น้ำนมได้เต็มที่ สุขภาพของแม่โคจะต้องพร้อม คือ ไม่ควรจะอ้วน หรือผอมจนเกินไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มากขึ้น ทั้งนี้เพราะโคจะต้องใช้สารอาหาร ในการบำรุงร่างกาย และเจริญเติบโตก่อนจึงจะนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม
เมื่อเกษตรกรได้รู้ถึงความต้องการสารอาหารของโคแล้ว ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงความต้องการสารอาหาร แต่ละชนิด เพราะอาจจะทำให้สับสน แต่อยากจะให้เกษตรกรได้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมจึงมีความจำเป็นที่ จะต้องให้อาหารต่างกันในโคแต่ละตัวหรือในโคตัวเดียวกันแต่ต่างระยะเวลา

ส่วนประกอบของอาหารแม่โครีดนม
โดยทั่วไปแล้วสัดส่วนอาหาร (ration) ของแม่โครีดนมควรจะมีส่วนประกอบดังนี้
- โปรตีนรวม (Crude protein) ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 12-22
- ผลรวมโภชนะย่อยได้ (Total Digestible Nutrient, TDN) ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 60-70
- เยื่อใย (Crude fiber) ไม่ต่ำกว่า ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 15
- เกลือแร่ ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 0.5-1

ปริมาณการกินอาหารหยาบ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ ซึ่งในจุดนี้ เกษตรกรบางส่วนไม่ค่อยได้คำนึงถึงมากนัก อย่าคิดแต่เพียงว่าถ้าให้อาหารข้นมาก ๆ โคจะได้รับสาร อาหารมาก และจะทำให้ผลผลิตน้ำนมได้มาก ตรงกันข้ามในความเป็นจริงแล้วโคที่ได้รับอาหารข้นมากเกินไป กลับทำให้ผลผลิตน้ำนมลดลงด้วยซ้ำ เนื่องจากการที่โคได้รับอาหารหยาบน้อยเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการ ผิดปกติในระบบการย่อยอาหาร คือ เกิดความเป็นกรดในกระเพาะผ้าขี้ริ้วมากจนโคไม่ยอมกินอาหาร ทั้งนี้ เพราะอาหารหยาบมีเยื่อใยสูงจะช่วยในการเคี้ยวเอื้อง ทำให้ต่อมน้ำลายของโคหลั่งน้ำลายได้มากขึ้นและ น้ำลายนี้เองที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะช่วยปรับสภาพภายในกระเพาะผ้าขี้ริ้วให้เหมาะสมแก่การทำงานของจุลินทรีย์ เพื่อสังเคราะห์โปรตีน และพลังงานแก่โคต่อไป เกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องมีอาหารหยาบเพียงพอให้แก่โคซึ่ง ระดับของอาหารหยาบ เมื่อคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่แม่โคควรจะได้รับต่อวันไม่ควรต่ำกว่า 1.4% ของ นน. ตัว ตัวอย่างเช่น แม่โคนมที่มีน้ำหนักประมาณ 400 กก. ควรจะได้รับอาหารหยาบแห้งตามที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว 100 กก. ต้องการอาหารหยาบ = 1.4 กก. แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว 400 กก. ต้องการ อาหารหยาบ =(1.4 x 400)/100 กก.
แม่โคควรจะได้รับอาหารหยาบแห้ง/วัน = 5.6 กก. เมื่อนำมาคิดเทียบกับไปเป็นหญ้าสด ซึ่งทั่ว ๆ ไปมีวัตถุ แห้งประมาณ 25% ดังนั้น โคควรจะได้รับหญ้าสดในปริมาณวันละ = (5.6 x 100)/100 = 22.4 กิโลกรัม

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอาหารหยาบกับอาหารข้นที่จะใช้
คุณภาพของอาหารหยาบและปริมาณการกินอาหารหยาบ จะเป็นตัวกำหนดสารอาหารที่แม่โคจะได้รับ เช่น แม่โคกินอาหารหยาบคุณภาพดีและกินในปริมาณที่มาก ก็จะได้รับสารอาหารมากกว่าแม่โคที่กิน อาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำและกินได้น้อย ดังนั้นจึงทำให้อาหารข้นที่จะใช้เสริมนั้นแตกต่างกัน คือ อาหารข้นจะต้องมีสารอาหารหรือความเข้มข้นแตกต่างกัน มิใช่ให้ในปริมาณที่แตกต่างกัน มิฉะนั้นแล้วจะ มีผลต่อการกินอาหารหยาบตามมา เพราะกระเพาะโคมีขนาดคงที่ ความสัมพันธ์ของอาหารหยาบและ อาหารข้นพอจะสรุปได้ดังนี้คือ

คุณภาพของอาหารหยาบที่ใช้
อาหารหยาบคุณภาพ ดี ระดับโปรตีนในอาหารข้น (% ในสูตรอาหาร) 12-16 หรือประมาณ 14
อาหารหยาบคุณภาพ ปานกลาง ระดับโปรตีนในอาหารข้น (% ในสูตรอาหาร) 16-20 หรือประมาณ 18
อาหารหยาบคุณภาพ ต่ำ ระดับโปรตีนในอาหารข้น (% ในสูตรอาหาร) 20-24 หรือประมาณ 22

ในความเป็นจริงแล้ว คุณภาพของอาหารข้นนอกจากจะคำนึงถึงโปรตีนในอาหารแล้ว ยังต้องคำนึงถึง พลังงาน ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างมากในแม่โคที่กำลังให้นม อย่างไรก็ตามคำแนะนำอย่างง่าย ๆ ก็คือถ้าแม่โคของท่านมีความสามารถในการให้นมสูง แต่ท่านจำเป็นต้องให้อาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าวเลี้ยงหรือต้องเดินแทะเล็มในทุ่งหญ้าธรรมชาติเป็นระยะทางไกล ๆ ท่านควรจะเสริมอาหารพลังงาน อาทิเช่น มันเส้น หรือกากน้ำ (Molasses) นอกเหนือจากอาหารหยาบและอาหารข้นที่กล่าวถึงแล้ว แต่ท่าน ก็ไม่ควรจะหวังถึงการให้นมได้สูงสุด คงจะเป็นเพียงช่วยไม่ให้การให้นมของแม่โคลดลงอย่างรวดเร็วเท่านั้น

การผสมสูตรอาหารข้นและการเลือกใช้วัตถุดิบผสมอาหารข้น
เกษตรกรสามารถเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ได้หลายอย่าง เพื่อนำมาผสมเป็นอาหารข้น แต่สิ่งที่เกษตรกร ควรระวังในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ คือ อย่าคิดถึงราคาต่อกิโลกรัมเท่านั้น เพราะวัตถุดิบบางชนิดมีราคา ต่อกิโลกรัมต่ำกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบสารอาหารที่มีอยู่ เช่น โปรตีน อาจจะทำให้ราคาต่อสารอาหารนั้นมี ราคาสูงกว่าก็ได้ อย่างไรก็ตามในเรื่องการเลือกใช้วัตถุมีรายละเอียดอยู่มาก ในที่นี้จึงได้จัดทำสูตรอาหาร ข้นขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้ โดยพยายามเลือกใช้วัตถุดิบและราคาจำหน่ายตามที่มีจำหน่ายอยู่ ทั่ว ๆ ไป ในแหล่งที่มีการเลี้ยงโคนม

พันธุ์โคนม

           พันธุ์โคนมที่ถือกันว่าเป็นพันธุ์หลักมีอยู่ 5พันธุ์ด้วยกัน คือ แอร์ไซร์,บราวน์สวิส,เกิร์นซี,โฮลสไตน์ ฟรีเซียน และเจอร์ซี
แอร์ไซร์ ( Ayrshire )


ถิ่นกำเนิด สก๊อตแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นโคที่แข็งแรง แทะเล็มหญ้าเก่ง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 544กก.พ่อโคหนักประมาณ 861 กก. มีสีขาว - น้ำตาลแดง เขามีลักษณะโค้งและกางออก พันธุ์แอร์ไซร์จัดเป็นพันธุ์ที่ให้นมสูงในลำดับที่สามระหว่างพันธุ์โคนมด้วยกันปริมาณน้ำนมโดยเฉลี่ยประมาณ 5,307กก./ปี เปอร์เซ็นต์ไขมันนมประมาณ ร้อยละ 4 จัดเป็นลำดับที่สี่ในกลุ่มพันธุ์หลัก


บราวน์สวิส ( Brown Swiss )

ถิ่นกำเนิด สวิสเซอร์แลนด์
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลล้วน จมูกและลิ้นมีสำดำ เขาโค้งมาด้านหน้าชี้ขึ้น บราวน์สวิสเป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่ ตัวเมียโตเต็มที่ประมาณ 680 กก. ส่วนตัวผู้หนักประมาณ 907 กก. โคตัวเมียเป็นสาวช้า กว่าพันธุ์อื่นๆ พันธุ์นี้ทนร้อนได้ดี นิยมนำพ่อโคผสมกับแม่โคเนื้อเพื่อได้ลูก ผสมสำหรับขุน
บราวน์สวิสจัดเป็นโคที่ให้นมสูงเป็นลำดับสองรองลงมาจากโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเซียน ค่าเฉลี่ยของการให้นมประมาณ 5,488 กก./ปี ไขมันนมประมาณร้อยละ 4.1 จัดเป็นลำดับที่สามในกลุ่มพันธุ์โคนมหลัก


เกิร์นซี ( Guernsey )


ถิ่นกำเนิด เกาะ Guernsey บริเวณช่องแคบอังกฤษ-ฝรั่งเศษ
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเหลืองแต้มขาว เขาโค้งออกไปด้านหน้า เป็นสาวเร็ว เชื่อง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 499 กก. พ่อโคหนัก 816 กก. ให้นมเป็นลำดับที่สี่ เฉลี่ยประมาณ 4,808 กก./ปี ไขมันนม ร้อยละ 5 จัดเป็นลำดับที่สองรองจากพันธุ์เจอร์ซีในกลุ่มพันธุ์หลัก น้ำนมของโคพันธุ์นี้มีสีออกเหลือง


โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ( Holstein-Friesian )
ถิ่นกำเนิด เนเธอแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นพันธุ์โคที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะให้นมสูงที่สุดจัดเป็นอันดับหนึ่ง เฉลี่ยประมาณ 6,577 กก./ปี ไขมันร้อยละ 3.5 ต่ำที่สุดในบรรดาพันธุ์โคนม โคพันธุ์นี้มีสีขาว-ดำ จึงเรียกกันอีกชื่อว่าพันธุ์ขาว-ดำ (Black and White) ลักษณะเขาไปด้านหน้าและโค้งเข้า โคพันธุ์นี้จัดเป็นโคนมพันธุ์ใหญ่ที่สุด แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 680 กก. พ่อโคหนักประมาณ 998 กก. มีเต้านมขนาดใหญ่ เล็มหญ้าเก่ง กินจุ ปรับตัวเก่ง


เจอร์ซี ( Jersey )

ถิ่นกำเนิด เกาะเจอร์ซี บริเวณช่องแคบอังกฤษ
ลักษณะที่สำคัญ มีสีครีมไปจนสีน้ำตาลเหลืองออกไปทางดำก็มี เนื้อ จมูก (muzzle) มีสีีดำ จัดเป็นโคนมพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แม่โคมีน้ำหนักโตเต็มที่เฉลี่ยประมาณ 453 กก. พ่อพันธุ์หนักประมาณ 725 กก. เขาโค้งเข้าลาดไปด้านหน้า โคเจอร์ซีมีเต้านมที่สวยงาม การยึดเกาะเต้านมดี ปรับตัวในการกินอาหารได้เก่ง แม่โคค่อนข้างจะขี้ตื่น ให้นมเฉลี่ยประมาณ 4,536 กก./ปี ไขมันนมเฉลี่ยร้อยละ 5.4 สูงเป็นอันดับหนึ่ง