การเป็นสัดโคเพศเมีย จะเริ่มเป็นสัดเมื่อถึงวัยสาวหรือวัยเจริญพันธุ์(Puberty) ในโคอายุที่ถึงวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 7-18 เดือน (โดยเฉลี่ยประมาณ 10 เดือน) ขึ้นกับการเลี้ยงดู ความสมบูรณ์ของอาหาร การได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะทำให้โคเจริญพันธุ์ช้า (delay puberty) ปัจจัยที่มีผลมากต่อวัยเจริญพันธุ์คือน้ำหนักตัว เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวที่โตเต็มที่ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับ ชนิดของโคแต่ละสายพันธุ์ด้วย
โดยปกติโคจะมีวงรอบการเป็นสัดเฉลี่ย 20-21 วัน (18-24 วัน) โคพันธุ์เมืองร้อน (Bos indicus) แสดงการเป็นสัดสั้นโดยเฉลี่ยแสดงอาการเป็นสัด ประมาณ 11 ชั่วโมง และสัดเริ่มแสดงอาการในช่วงเย็นของวัน หลักจากแสดงอาการเป็นสัดแล้วจะเกิดการตกไข่ (Ovulation) โดยประมาณ 25-26 ชั่วโมง ส่วนโคพันธุ์เมืองหนาว (Bos taurus) จะแสดงอาการเป็นสัดที่นานกว่าประมาณ 18 ชั่วโมง และเกิดการตกไข่ประมาณ 28-31 ชั่วโมงหลังการเป็นสัด
วงรอบการเป็นสัดแบ่งเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงอวัยวะสืบพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ที่มีความสอดคล้องกัน ซึ่งระยะทั้ง 4 คือ
1. ระยะก่อนการเป็นสัด (Pro-oesturs)
2. ระยะเป็นสัด (Oesturs)
3. ระยะหลังการเป็นสัด (Metoesturs)
4. ระยะไม่เป็นสัดในวงรอบ (Dioesturs)
วงรอบการเป็นสัดสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะตามการพบฟอลลิเคิล และคอร์ปัสลูเทียม คือระยะที่ฟอลลิเคิลเจริญทำงานมากเรียกว่า ระยะฟอลลิคิวลาเฟส (Follicular phase) เป็นช่วงที่รวมระยะก่อนเป็นสัดและระยะเป็นสัด ส่วนระยะที่มีคอร์ปัสลูเทียมทำงานเรียกว่า ระยะลุเทียลเฟส (luteal phase) โดยรวมระยะหลังการเป็นสัดและระยะไม่เป็นสัดในวงรอบ
วงรอบการเป็นสัด
1. ระยะก่อนการเป็นสัด (Pro-oesturs)
คือวันที่ 17-20 หลังการเป็นสัด เป็นระยะที่โคเข้าสู่การเป็นสัดรอบใหม่ ระบบสืบพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลง ฟอลลิเคิล (follicle) เจริญอย่างรวดเร็ว คอร์ปัสลูเทียม (corpus luteum) จากการเป็นสัดในรอบที่แล้ว ฝ่ออย่างรวดเร็ว มดลูกมีการเปลี่ยนแปลง มีเลือดเลี้ยงมาก ต่อมสร้างสารคัดหลั่งเจริญขยายตัวในส่วนคอมดลูก (cervix) และช่องคลอด (vagina) โดยช่องคลอดจะบวมแดงมีเมือกใสเหนียวไหลจากช่องคลอดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน
2. ระยะเป็นสัด (Oesturs)
คือ สันที่ 0 ของการเป็นสัด เป็นระยะที่ ฟอลลิเคิลขนาดใหญ่ (dominant follicle) มีการเจริญเติบโตเต็มที่ และเกิดการตกไข่ตามมา (ovulation) โคจะแสดงการเป็นสัดโดยเฉลี่ยประมาณ 4-24 ชั่วโมง และ โคจะแสดงการยอมรับการผสม และยืนนิ่งเมื่อมีตัวอื่นปีน (standing heat)
ระยะการเป็นสัด โคจะแสดงอาการต่าง ๆ เช่น กระวนกระวาย ถ้าเป็นวัวระยะให้นมจะมีการสร้างน้ำนมลดลง การยืนนิ่งยอมเป็นปีนของตัวอื่น พบเมือกหรือสารคัดหลั่งจากมดลูก คอมดลูก และช่องคลอดมีมากที่สุด เยื่อเมือกของปากช่องคลอดจะแดงมีเลือดคลั่ง
ในระยะนี้ ระดับฮอร์โมน แอลเอช LH (Luteinzing Hormone) จะเพิ่มขึ้นสูงมากก่อนที่จะตกไข่ ตามมาหลังจากที่แสดงอาการเป็นสัด ประมาณ 30 ชั่วโมง
การผสมเทียม (AI) ระยะที่เหมาะสมคือ 12-18 ชั่วโมง หลักการยืนนั่ง (standing heat)
3. ระยะหลังการเป็นสัด (Metoesturs)
คือวันที่ 2-4 ของการเป็นสัด ในระยะนี้โคจะหยุดแสดงอาการเป็นสัด และรังไข่มีการสร้าง คอร์ปัสลูเตียม (Corpus luteum) และเริ่มมีการแสดงฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน
ในบางครั้งอาจจะพบว่าเลือดออกมาจากช่องคลอด (Metoestrus bleeding) ได้ในระยะนี้ ปกติพบประมาณ 90% และไม่เกิน 45% ในแม่วัว ซึ่งเป็นลักษณะเมือกปนเลือดพบติดตามหลังหรือบริเวณช่องคลอดด้านนอก
การพบเลือดจากช่องคลอด ไม่ได้บ่งบอกว่าการผสมพันธุ์ ที่เกิดขึ้นนั้ จะทำให้ผสมติดหรือผสมไม่ติด
ในบางครั้งอาจจะพบว่าเลือดออกมาจากช่องคลอด (Metoestrus bleeding) ได้ในระยะนี้ ปกติพบประมาณ 90% และไม่เกิน 45% ในแม่วัว ซึ่งเป็นลักษณะเมือกปนเลือดพบติดตามหลังหรือบริเวณช่องคลอดด้านนอก
การพบเลือดจากช่องคลอด ไม่ได้บ่งบอกว่าการผสมพันธุ์ ที่เกิดขึ้นนั้ จะทำให้ผสมติดหรือผสมไม่ติด
4. ระยะไม่เป็นสัดในวงรอบ (Dioesturs)
คือ วันที่ 5-17 หลังจกาการเป็นสัด เป็นระยะที่ ระยะที่มีคอร์ปัสลูเทียม (CL) เจริญเติบโตเต็มที่มดลูกพร้อมรับการตั้งท้อง มีระดับโปรเจสเตอโรน (progesterone) สูง คอมดลูกปิดมีเมือกเหนียวปิดอยู่ เยื่อเมือกช่องคลอดค่อนข้างซีด
ในช่วงท้ายของระยะนี้ถ้าโคไม่มีการตั้งท้อง ก็จะมีการสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) จากมดลูก (Uterus) มาสลายคอร์ปัสลูเทียม (CL) หลังจากนั้นก็จะมีการเริ่มขบวนการเป็นสัด (Estrous cycle) ในรอบใหม่
ต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญในการสร้างฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์
1. ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus)
2.ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary gland)
3. รังไข่ (Ovary)
4. มดลูก (Uterus)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น