บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(00012006) กลุ่มเรียนที่ 20 วันศุกร์เวลา 13.30 - 15.30 น. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคของโคนม

โรคโคนมและโคเนื้อ เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคแบบเดียวกัน แต่บางโรคเกิดขึ้นกับโคนมบ่อยกว่าโคเนื้อ โรคโคนมบางโรค เชื้อสาเหตุสามารถติดต่อมาถึงคนโดยผ่านทางน้ำนม ดังนั้นคนที่บริโภคน้ำนมดิบที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคจากโคนมได้ เช่น วัณโรค (Tuberculosis) และโรคบรูเซลโลซิล (Brucellosis) น้ำนมโคที่จะได้คุณภาพสูงโคนมจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบโรคบางโรคเป็นประจำ โรคของโคนมที่น่าสนใจบางโรค ได้แก่

เต้านมอักเสบ


เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับโคนมและมีผลเสียหายต่อการให้น้ำนมและสุขภาพโค การเกิดโรคเต้านมอักเสบ สร้างความเสียหายดังนี้
  • การให้น้ำนมของแม่โคลดลง
  • ทำให้เสียเวลาในการดูแลรักษา
  • เสียค่าใช้ยา และค่ารักษาพยาบาล
  • น้ำนมจากโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบต้องเททิ้ง
  • ทำให้ต้องคัดแม่โคออกจากฝูง

เต้านมอักเสบเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ลุกลามเข้าไปในเต้านมโดยผ่านเข้าไปทางรูนม เชื้อสาเหตุมีมากมายหลายชนิด ที่พบบ่อยมักจะเป็นพวก Streptococcus หรือ Staphylococcus
โรคเต้านมอักเสบที่มีอาการรุนแรง โคจะแสดงอาการดังนี้
  • เต้านมอักเสบ
  • เต้านมบวม ร้อน บริเวณติดเชื้อเป็นไตแข็ง
  • น้ำนมลด
  • น้ำนมที่รีดได้ผิดปกติ เช่น น้ำนมจับตัวเป็นเส้น มีตะกอนสีเหลือง มีเลือดปน
  • แม่โคไม่กินอาหาร ซึม มีไข้
Streptococcus

Staphylococcus

อาการเต้านมอักเสบเรื้อรัง โคมีอาการดังนี้
  • น้ำนมที่รีดได้ผิดปกติ (มีตะกอน เป็นเกล็ด นมใส)
  • เต้านมบวมและแข็ง ต่อมาอาจจะหายเป็นปกติ
  • การให้น้ำนมของแม่โคลดลง

การป้องกันและรักษาโรคเต้านมอักเสบทำได้โดย
1. รักษาความสะอาดของคอก อุปกรณ์ และทุกขั้นตอนของการรีด
2. ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเต้านมให้สะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดก่อนรีดทุกครั้ง
3. อย่าใช้เวลารีดนมนานเกินไป รีดนมให้หมดเต้า แล้วจุ่มหัวนมหรือเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันทีที่รีดเสร็จ
4. อย่าเปลี่ยนคนรีดโดยไม่จำเป็น และรีดให้ตรงเวลา
5. ตรวจเช็คน้ำนมทุกเต้าก่อนรีดลงถังโดยรีดใส่ภาชนะสีเข้ม และถ้าพบความผิดปกติ ให้รีดไปทิ้งห่างไกลจากคอก แล้วล้างมือให้สะอาด
6. รีดโคเต้านมอักเสบเป็นตัวสุดท้าย และรีดเต้าที่อักเสบเป็นเต้าสุดท้ายด้วย
7. รักษาทันทีที่พบว่าโคเต้านมอักเสบ แล้วรีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นรุนแรง (ดูรายละเอียดจากเรื่องยาสอดเต้านม)
8. ควรสอดยาป้องกันเต้านมอักเสบให้แก่โคที่เคยเป็นโรคนี้เมื่อหยุดรีดนม


รกค้าง (Retained placenta)
การเกิดรกค้างหมายถึงว่าหลังคลอดลูกแม่โคไม่ได้ขับรกออกมาในช่วง 12-14 ชั่วโมง ปกติแล้วร้อยละ 10-20 ของแม่โคมักจะเกิดรกค้าง ถ้าเราเกิดขึ้นบ่อยครั้งสูงกว่าเกณฑ์ปกติแสดงว่าผู้เลี้ยงควรดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด สาเหตุของรกค้างเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • เกิดการติดเชื้อโรคในช่องอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคขณะอุ้มท้อง
  • แม่โคได้รับวิตามิน A หรือ E ธาตุไอโอดีน และซิลิเนียมไม่เพียงพอ
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารไม่สมดุล
  • แม่โคอ้วนมากเกินไป (ได้รับอาหารข้นมากเกินไป)
  • เกิดความเครียดเนื่องจากคลอดลูกเร็วเกินไป

การจัดการที่ดีช่วยลดการเกิดค้างได้ กรณีที่เกิดรกค้างกับแม่โคให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรักษาต่อไป

ไข้นม (Milk fever)
ไข้นมเกิดจากการขาดแคลเซียมในเลือด มักเกิดกับแม่โคที่มีอายุน้อย แม่โคที่ให้นมสูง มักเกิดภายใน 2-3 วันหลังคลอดลูก

อาการของไข้นม ประกอบด้วย
  • แม่โคเบื่ออาหาร
  • แม่โคมีอาการตื่นเต้น
  • ซึม ตัวเย็น เนื้อจมูก (muzzle) แห้ง
  • เป็นอัมพาต ล้มลงนอน เอาหัวพาดไปกับลำตัว
  • ต่อมานอนเอาข้างลง เกร็งยืดตัวหัวออก
  • มีอาการท้องอืด

การป้องกันทำได้โดยการจัดสัดส่วนอาหารให้มีโภชนะสมดุลปรับอัตราส่วน Ca : P ให้ถูกต้อง การรักษาสัตว์ป่วยทำได้โดยการฉีดยาสารละลายแคลเซียมเข้าเส้นเลือด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น